ความรู้สุขภาพ

กินเผ็ด-ดื่มแอลกอฮอล์-น้ำอัดลม เสี่ยง “กระเพาะอาหารทะลุ” หรือไม่

  กระเพาะอาหารทะลุ ฟังดูอาจเป็นอาการที่น่ากลัว แต่เกิดขึ้นได้จริงและสร้างความทรมานให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก แต่สามารถป้องกันได้ง่ายๆ ตั้งแต่เนิ่นๆ เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้ดีขึ้น รศ.พญ. รภัส พิทยานนท์ แพทย์ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า กระเพาะอาหารทะลุ เกิดจากการที่ผนังกระเพาะอาหารมีรูรั่ว ผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง และมีความเสี่ยงในการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ อาการกระเพาะอาหารทะลุ           อ.พญ.อวยพร เค้าสมบัติวัฒนา อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ระบุว่า หากกระเพาะอาหารทะลุแล้ว อาจมีอาการที่สามารถสังเกตได้ ดังนี้ ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่อย่างรุนแรง ปวดจนแทบจะทนไม่ได้ จนต้องมาที่โรงพยาบาลทันที อาการแตกต่างจากอาการปวดท้องโรคกระเพาะอาหารทั่วไป ที่ส่วนมากจะปวดแสบท้องในระดับที่ทนไหว และอาจดีขึ้นเมื่อกินยา ปัจจัยเสี่ยงกระเพาะอาหารทะลุ รับประทานยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ยาหม้อ ยาลูกกลอน อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยาอาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร จนเกิดแผล และเลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร หากแผลลึกออกส่งผลให้กระเพาะทะลุได้ เป็นผู้ป่วยที่เคยมีแผลในกระเพาะอาหาร หากมีสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร จะมีโอกาสเกิดแผลในกระเพาะอาหารซ้ำได้มากขึ้น จนกระเพาะอาหารทะลุได้ มีอาการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร มักเกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน ทำให้เกิดการอักเสบ และแผลในกระเพาะอาหาร เป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่กระเพาะอาหารชนิดโตเร็ว อาจทำให้เกิดอาการกระเพาะอาหารทะลุได้ โดยเฉพาะช่วงที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด สูบบุหรี่เป็นประจำ การสูบบุหรี่เป็นประจำ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นแผลในกระเพาะอาหาร จึงมีโอกาสเกิดแผลในกระเพาะอาหารซ้ำได้มากขึ้น จนกระเพาะอาหารทะลุได้ อาหารเผ็ด ดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม เพิ่มความเสี่ยงอาการกระเพาะอาหารทะลุได้หรือไม่           การรับประทานอาหารเผ็ด ดื่มแอลกอฮอล์ และน้ำอัดลม ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่ออาการกระเพาะอาหารทะลุ และไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลในกระเพาะอาหารอีกด้วย           แต่การดื่มแอลกอฮอล์ขณะท้องว่าง ทำให้แอลกอฮอล์ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว เมื่อกระเพาะอาหารต้องดูดซึมแอลกอฮอล์อย่างหนัก อาจทำให้ระดับการป้องกันของกระเพาะอาหารทำงานไม่ทัน และเสี่ยงกระเพาะอาหารอักเสบได้ แต่ไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือทำให้กระเพาะอาหารทะลุแต่อย่างใด ในส่วนของน้ำอัดลม มีกรดและแก๊สอยู่ ดื่มแล้วอาจทำให้อึดอัดท้อง และกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบในคนที่เป็นโรคนี้อยู่แล้วได้ แต่ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารทะลุแต่อย่างใด ที่มา : กินเผ็ด-ดื่มแอลกอฮอล์-น้ำอัดลม…

Read More
ความรู้สุขภาพ

4 อันตรายที่อาจเกิดขึ้น หากดื่มกาแฟมากเกินไป

กาแฟ หากดื่มอย่างเหมาะสมก็เป็นประโยชน์ แต่ถ้าดื่มมากเกินไป อาจให้โทษต่อร่างกายได้ อาจกระทบการทำงานของร่างกายทั้ง 4 ระบบ นอกจากนี้ควรดื่มกาแฟดำ และควรดื่มน้ำเปล่าตาม เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำและการตกค้างของคาเฟอีนในร่างกาย นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า คนวัยทำงานนิยมดื่มกาแฟ เพื่อให้ตื่นตัว สดชื่น ลดความง่วง เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า ในช่วงเช้าหรือระหว่างวัน ทำให้มีพฤติกรรมเคยชินในการดื่มกาแฟ จึงอาจเผลอดื่มมากเกินไป นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้รับคาเฟอีนจากแหล่งอาหารอื่นที่ไม่ใช่กาแฟร่วมด้วย เช่น น้ำชา น้ำอัดลม โกโก้ เครื่องดื่มชูกำลัง ดื่มกาแฟแค่ไหน ถึงไม่อันตราย ผู้ใหญ่สามารถบริโภคคาเฟอีนได้ โดยควรรับในปริมาณที่เหมาะสมจากเครื่องดื่ม และอาหารต่างๆ แนะนำให้จำกัดปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับในแต่ละวันไม่เกิน 300-400 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเทียบเท่ากับกาแฟ 3-4 แก้ว อันตรายจากการดื่มกาแฟมากเกินไป หากร่างกายได้รับคาเฟอีนในปริมาณมากเกินไปหรือเรียกว่าการบริโภคคาเฟอีนเกินขนาด (Caffeine Overdose) จะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย ดังนี้ ระบบประสาทส่วนกลาง จะทำให้มือสั่น นอนไม่หลับ เกิดความวิตกกังวล ปวดศีรษะ บางครั้งอาจทำให้ชักได้ ระบบทางเดินอาหาร จะเพิ่มการหลั่งของกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ทำให้ปริมาณน้ำย่อยและกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น ผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ จึงควรหลีกเลี่ยงกาแฟทุกชนิด รวมทั้งเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ ระบบการไหลเวียนโลหิต คาเฟอีนกระตุ้นหัวใจ เพิ่มการไหลเวียนโลหิต อาจเพิ่มความดันโลหิตชั่วคราว โดยเฉพาะในผู้ที่ปกติไม่บริโภคคาเฟอีน กลุ่มที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอยู่เดิม ภาวะความดันโลหิตสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ คาเฟอีนลดการดูดน้ำกลับ ตอนผ่านเข้าไปในไต ทำให้ไตขับน้ำออกมาเยอะขึ้น กระตุ้นให้เกิดการปัสสาวะบ่อยขึ้น แคลเซียมซึ่งเป็นสารก่อนิ่วชนิดหนึ่ง จะถูกขับออกมาพร้อมปัสสาวะ ในภาวะที่มีปริมาณผิดปกติ และสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยอาจก่อให้เกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะหรือการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การทำงานของไตเสื่อมลง และอาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเกิดภาวะไตวาย ดื่มกาแฟอย่างไร ถึงจะดีต่อสุขภาพ ควรเลือกดื่มเป็นกาแฟดำไม่ใส่นมและน้ำตาล เลือกสั่งแบบหวานน้อย หรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ “ทางเลือกสุขภาพ” ที่ปรากฏบนซองหรือบรรจุภัณฑ์สินค้า หากต้องการจำกัดไขมันหรือน้ำตาล อาจเลือกเป็นสูตรแคลอรีต่ำ หรือสูตรไม่มีน้ำตาล จะช่วยให้สมองตื่นตัว รู้สึกกระปรี้กระเปร่า เมื่อดื่มกาแฟเย็นแล้วควรลดอาหารหวาน มัน…

Read More
ความรู้สุขภาพ

ความดันโลหิตสูง คืออะไร?

  ความดันโลหิตสูง หมายถึง?          ภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงความดันในหลอดเลือดที่สูงขึ้น ซึ่งในปัจจุบันแพทย์วินิจฉัยว่าในภาวะปกติผู้ที่มีความดันเท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท เป็นผู้ที่มี ความดันโลหิตสูง หากปล่อยทิ้งไว้ให้อยู่ในระดับนี้นานๆ อาจทำให้อวัยวะต่างๆในร่างกายเสื่อม เช่น มีโอกาสเป็นโรคหัวใจตีบตัน 3-4เท่า และโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน 7 เท่าของผู้ที่มีความดันปกติ และถ้าปล่อยทิ้งไว้ความดันจะเพิ่มขึ้นทุกๆ 10 มิลลิเมตรปรอทต่อปี ชนิดของโรคความดันโลหิตสูง ชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ส่วนใหญ่เชื่อกันว่าเกิดจาก 2 ปัจจัย คือ กรรมพันธุ์หรือสิ่งแวดล้อม โดยส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยส่งเสริม เช่น ภาวะอ้วน เบาหวาน ทานอาหารเค็ม ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เครียด เป็นต้น ชนิดที่ทราบสาเหตุ เป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นผลมาจาก ที่เป็นโรคอื่นมาก่อนและมักต้องรักษาโรคที่เป็นสาเหตุด้วย เช่น เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต ไตวายเรื้อรัง หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบ หลอดเลือดแดงใหญ่ตีบในส่วนของช่องอก รวมถึงผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำ ซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี ความดันโลหิตเท่าไหร่ ถึงเรียกว่าความดันโลหิตสูง           ปัจจุบัน ค่าความดันโลหิตที่ยอมรับได้ในผู้ที่อายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ควรตํ่ากว่า 150/90 มิลลิเมตรปรอท ถ้าอายุน้อยกว่า 60 ปี หรือเป็นเบาหวาน หรือมีภาวะไตเสื่อม ค่าความดันโลหิต ควรตํ่ากว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง อายุ ยิ่งอายุมากขึ้นความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงจะสูงมากขึ้น ความเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูงในเพศชายมักเพิ่มขึ้นเมื่อมีอายุ 64 ปีขึ้นไป และ 65 ปี ในเพศหญิง เชื้อชาติ ชาวแอฟริกัน – อเมริกัน มักจะมีความดันโลหิตสูงเมื่ออายุมากขึ้นเมื่อเทียบกับคนผิวขาว ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวายหรือไตวา ประวัติทางการแพทย์ของครอบครัว…

Read More